การปกครอง

การเมืองการปกครอง

การปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน 
การปกครอง 
จังหวัดสุรินทร์ แบ่งเขตการปกครองเป็น 17 อำเภอ 158 ตำบล 2,120 หมู่บ้าน 1 เทศบาลเมือง           24 เทศบาลตำบล 147 องค์การบริหารส่วนตำบล มีประชากรรวม 1,381,761 คน (ตามประกาศกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 แบ่งเป็นชาย 691,425 คน เป็นหญิง 690,226 คน จำนวนครัวเรือน 341,922 ครัวเรือน

สุรินทร์ (เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น เขมร กูยและลาวหรือไทยอีสาน มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24

สภาพภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง

จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ทางตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างลองติจูด 103 และ 105องศาตะวันออก ละติจูด 15 และ 16 องศาเหนือ ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 420 กิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศกัมพูชาทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ และทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

สภาพภูมิประเทศ

จังหวัดสุรินทร์ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบสูงมีลักษณะพื้นที่ดังนี้
  1. ทางตอนใต้ของจังหวัด เป็นพื้นที่ราบสูง มีภูเขาสลับซับซ้อนหลายลูก มีป่าทึบสลับป่าเบญจพรรณตามบริเวณแนวเขตชายแดน (อำเภอบัวเชด อำเภอสังขะ อำเภอกาบเชิง และอำเภอพนมดงรัก) ที่ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา ต่อจากบริเวณภูเขาลงมาเป็นที่ราบสูง ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ลาดเทมีลักษณะเป็นลูกคลื่น ค่อย ๆ ลาดเทไปทางตอนกลางและตอนเหนือของจังหวัด
  2. ทางตอนกลางของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม แต่มีพื้นที่บางส่วนเป็นที่ดอน สลับที่ลุ่มลอนลาดเช่นเดียวกัน แต่ไม่มากเท่าทางตอนใต้ของจังหวัด (อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอศรีขรภูมิ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอลำดวน และอำเภอศรีณรงค์)
  3. ทางตอนเหนือของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ (อำเภอจอมพระ อำเภอสนม) และที่ราบลุ่ม (อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี และอำเภอโนนนารายณ์) โดยเฉพาะอำเภอชุมพลบุรี และอำเภอท่าตูม อยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลในเขตของ ทุ่งกุลาร้องไห้
ลักษณะของดินในจังหวัดสุรินทร์ เป็นดินร่วนปนทราย มีบางพื้นที่ เช่น อำเภอเขวาสินรินทร์ เป็นดินเหนียวปนทราย ฉะนั้นดินในจังหวัดสุรินทร์จึงอุ้มน้ำได้น้อย

ภูเขาและแหล่งน้ำ

จังหวัดสุรินทร์ มีเทือกเขาพนมดงรักทอดยาวตามแนวเขตแดนไทย-กัมพูชาทางด้านตอนใต้ของจังหวัด มีเขาสวายหรือพนมสวายในเขตตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว มียอดเตี้ย ๆ 3 ได้แก่ ยอดเขาชาย เป็นที่ตั้งของวัดพนมศิลาราม และที่บรรจุอัฐิของเจ้าเมืองสุรินทร์และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล ปางประทานพร ภปร. ยอดเขาหญิง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ขนาดกลาง และยอดเขาคอก (พนมกรอล) พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์ ได้สร้างศาลาอัฐะมุขเพื่อเป็นอนุสรณ์ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และสถูปบรรจุอัฐิพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) เกจิอาจารย์ที่ชาวสุรินทร์เคารพนับถือ ปัจจุบันเขาสวายได้รับการประกาศเป็น วนอุทยานพนมสวาย
แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่

ทรัพยากร

ทรัพยากรป่าไม้

จังหวัดสุรินทร์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ป่าไม้ ซึ่งมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งจังหวัดประมาณ 1,434,001 ไร่ ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าสมบูรณ์เหลืออยู่ประมาณ 187,343 ไร่ จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่ โดยสามารถแยกได้ดังนี้ คือ
  1. เขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 26 ป่า
  2. วนอุทยาน จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่
  3. เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่ง คือ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ-ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่อำเภอพนมดงรัก อำเภอกาบเชิง อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่
  4. ป่าชุมชน
เอกสารบรรยายสรุปจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี พ.ศ. 2540 มีการตัดไม้ทำลายป่าค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการบุกรุก แผ้วถาง เพื่อการเกษตรกรรม ป่าไม้ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ในเขตอำเภอสังขะ อำเภอบัวเชด อำเภอกาบเชิง และอำเภอพนมดงรัก และยังมีป่าไม้กระจัดกระจายเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอปราสาท อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอท่าตูมอำเภอรัตนบุรี อำเภอลำดวน และอำเภอศีขรภูมิ ต้นไม้ที่มีอยู่โดยทั่วไปในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ ต้นเต็ง รัง ยาง ประดู่ พะยูง ตาด แดง กะบาก และอื่น ๆ รวมทั้ง ต้นมันปลา หรือต้นกันเกรา ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ จากการที่ป่าไม้ถูกทำลายมาก จึงมีการปลูกป่าทดแทน หรือปลูกไม้โตเร็วเพื่อการใช้สอย เช่น ต้นกระถินณรงค์ ต้นยางพารา ต้นตะกู และต้นยูคาลิปตัส เป็นต้น (พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของ ออป. (องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

ทรัพยากรสัตว์ป่า

จังหวัดสุรินทร์มีทรัพยากรสัตว์ป่าอยู่มากมายทั่วทั้งจังหวัด แต่ปัจจุบันนี้สัตว์ป่าจะมีอยู่เฉพาะตามพื้นที่ป่าที่อนุรักษ์ไว้และอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเท่านั้น ส่วนสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ในปัจจุบันที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ ได้แก่ เก้ง กวาง ลิ่น วัวแดง กระจง ลิง ค่าง ชะนี เสือโคร่ง เลียงผา อีเห็น แมวดาว ชะมด เม่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกนานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมูป่า และกระจงมีอยู่จำนวนมากทั่วพื้นที่ สัตว์ที่มีลักษณะเด่นในพื้นที่ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ เก้ง และที่พบเห็นในวนอุทยานพนมสวาย ได้แก่ กระรอก กระต่ายป่า สัตว์ปีกมีบ้างแต่ไม่มากนักได้แก่ นกกระเต็น บ่าง นกกระทาดง นกกวัก นกกระปูด นกกางเขนดง นกเขาหลวง นกเป็ดน้ำและนกเหยี่ยว และที่พบในวนอุทยานป่าสนหนองคู ได้แก่ กระรอก บ่าง กระต่ายป่า งู แย้ และนกเขา นกกะปูด นกเอี้ยง บางครั้งก็จะมีพบนกเงือกมาอยู่บ้าง และยังมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดที่สามารถพบเห็นได้ในป่าชุมชนต่าง ๆ ที่มีการอนุรักษ์ผืนป่าไว้

ทรัพยากรน้ำ

จังหวัดสุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สาย คือ แม่น้ำมูล ลำน้ำชีน้อย ลำห้วยอารีย์ ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยสำราญ และลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์แก่จังหวัดนอกจากนั้นยังมีแหล่งน้ำอื่น ๆ ในเขตอำเภอต่าง ๆ รวมถึงแหล่งน้ำอื่นที่ไม่เอื้อประโยชน์มากนัก เนื่องจากในฤดูแล้งไม่มีน้ำอีกเป็นจำนวนมาก

ทรัพยากรธรณี

จังหวัดสุรินทร์มีทรัพยากรทางธรณีที่สำคัญ ได้แก่ ทรายแม่น้ำมูล พบที่อำเภอท่าตูม และอำเภอชุมพลบุรี บ่อหินลูกรัง พบที่ อำเภอท่าตูม อำเภอสำโรงทาบ อำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอสังขะ หินภูเขา เป็นหินภูเขาที่ได้จากเขาสวาย ท้องที่ตำบลสวาย และตำบลนาบัว สำหรับป้อนโรงงานโม่หินเพื่อใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น

การตั้งถิ่นฐาน

สมัยทวารวดี พบมีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานมาก่อนแล้วในดินแดนแถบอิสานใต้ ไปจนถึงบริเวณแถบอิสานกลางโดยชนชาติแรกๆ ที่ได้เข้าอาศัยอยู่ ชาติพันธุ์ตระกูลมอญ ละว้า ลั๊ว ขอม
สมัยอาณาจักรขอมรุ่งเรือง ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นต้นมา ซึ่งชาวขอม ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองดั้งเดิมในแถบดินแดนอิสานใต้ และแถบสปป.ลาว สยาม กัมพูชา และญวน
สุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเป็นมายาวนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ข้อมูลในพงศาวดาร  เรื่องเล่าตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นที่อยู่ของชนหลายเผ่าพันธุ์ทั้ง เขมร ไท กูย ทำให้มีภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลายที่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน
==== เมืองโบราณเขตเมืองเก่าของเมืองสุรินทร์ อยู่พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์มีมนุษย์เข้ามาตั้งชุมชนแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย  ลักษณะชุมชนเป็นเนินดินมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ  รูปวงรี หรือวงกลม ขนาดกว้างประมาณ  1,000  เมตร  ยาวประมาณ  1,300  เมตร  เป็นลักษณะเฉพาะของแผนผังเมืองโบราณตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นซึ่งพบทั่วไปในเขตภาคอีสานตอนล่าง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองสุรินทร์ในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่  95  ตอนที่  98  ลงวันที่  19  กันยายน  2521
จากการสำรวจของหน่วยศิลปากรที่  6   ในปี พ.ศ. 2534  พบว่าตัวเมืองยังมีสภาพที่สมบูรณ์เห็นแนวคูน้ำ-คันดินแบ่งออกเป็น  2  ชั้น  คือ  เมืองชั้นในและเมืองชั้นนอก
เมืองชั้นใน  มีลักษณะเป็นรูปวงรีแบบสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น  มีขนาดกว้างประมาณ  1,000  เมตร  ยาวประมาณ  1,300  เมตร  สภาพคูเมืองค่อนข้างสมบูรณ์  มีบางส่วนเท่านั้นที่ขาดหายไป
เมืองชั้นนอก  มีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชุมชนขอมโบราณ มีคูน้ำ  2  ชั้น  คันดิน  1  ชั้นล้อมรอบ  ขนาดกว้าง  1,500  เมตร  ยาว  2,500  เมตร  สภาพคูเมืองค่อนข้างสมบูรณ์   ยกเว้นด้านทิศใต้ พื้นที่บริเวณวังเก่าของเจ้าเมืองสุรินทร์ อยู่บริเวณที่เป็นโรงพยาบาลสุรินทร์ บริเวณวัดศาลาลอยและพื้นที่ใกล้เคียง โรงเรียนสุรวิทยาคาร และโรงเรียนสิรินธรในปัจจุบัน แต่อาคารโบราณสถานต่างๆ ได้ถูกรื้อถอนและทำลายทิ้งหมดแล้วเหลือแต่เพียงคูน้ำไว้ให้เห็นบริเวณด้านข้างโรงเรียนสิรินธร จะเห็นได้ว่า  ตัวเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้  เคยเป็นบ้านเมืองมาแล้วตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาหลายพันปี  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองสุรินทร์ในอดีต  ตลอดจนถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของชาวสุรินทร์ได้เป็นอย่างดี  ดังนั้น  จึงเป็นหน้าที่อย่างสำคัญที่คนสุรินทร์ในปัจจุบันจะช่วยกันรักษามรดกอันทรงคุณค่าชิ้นนี้ไว้ตราบชั่วลูกหลาน  ด้วยการไม่บุกรุกทำลายคูน้ำคันดินของเมืองโบราณสุรินทร์
จากการศึกษาวิจัยการและสำรวจพบแหล่งโบราณคดีในจังหวัดสุรินทร์  กว่า 59 แห่ง ส่วนมากเป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำ-คันดินล้อมรอบรูปวงรี หรือวงกลม ได้แก่
แหล่งโบราณคดีบ้านโนนสวรรค์ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี  หมู่บ้านเป็นเนินสูงเกือบ 3 เมตร  พบโบราณวัตถุได้แก่ เศษภาชนะดินเผาแบบต่างๆ รวมทั้งภาชนะเคลือบสีน้ำตาลแบบขอม และพบภาชนะที่ใช้บรรจุมีลักษณะเป็นภาชนะก้นมนขนาดใหญ่ ที่ใช้ในการฝังศพครั้งที่สองของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุอยู่ในราว 2,000-1,500 ปี มาแล้ว พบมากไปตลอดลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลางแถบจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และขอนแก่น เป็นลักษณะของกลุ่มวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นที่ตั้งของปราสาททนง เป็นโบราณสถานขอมชึ่งกรมศิลปากรมีโครงการขุดแต่ง ในปี พ.ศ. 2536 และได้ขุดตรวจชั้นดินทางด้านหลังของโบราณสถาน พบหลักฐานสำคัญแสดงให้เห็นถึงการอยุ่อาศัยของมนุษย์มาก่อนจะสร้างปราสาท คือ โครงกระดูกมนุษย์เพศชาย อายุประมาณ 35- 40 ปี ปัจจุบันได้นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
นอกจากแหล่งโบราณคดีทั้งสองแหล่งนี้แล้ว ยังไม่มีการขุดค้นตามหลักวิชาการในอีกกว่า 50 แห่ง อาศัยเพียงเทียบเคียงค่าอายุกับแหล่งอื่น ๆ พอสรุปได้ว่ามีอายุอยู่ในราว 2,000-1,500 ปีมาแล้ว
หม่อมอมรวงศ์วิจิตร กล่าวไว้ในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานกล่าวว่า เดิมพื้นที่ในมณฑลลาวทางนี้ เมื่อก่อนจุลศักราชได้ 1,000 ปี ก็เป็นทำเลป่าดง (เป็นการเรียกไปเองของสมัยกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งเป็นที่อาศัยของพวกคนอันสืบเชื้อสายมาแต่ขอม ต่อมาเรียกกันว่า กูย(กวย) ซึ่งยังมีอาศัยอยู่ในฝั่งโขงตะวันออก ซึ่งปรากฏหลักฐานการสร้างปราสาทหิน และจากอิฐดินเผาจำนวนมากมีกระจายอยู่ทั่วไปในแถบอิสานใต้ ละโว้ (ลพบุรี) ไปจนถึงในเขตภาคกลาง (สมัยกรุงศรีอยุธยา หรือสมัยอาณาจักรทาวราวดี) และภาคเหนือตอนล่าง
จากหลักฐานที่พบภาชนะดินเผา ยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณจังหวัดสุรินทร์ และพบแหล่งชุมชนโบราณหลายแห่ง ย่อมแสดงให้เห็นว่า ในบริเวณจังหวัดสุรินทร์ มีผู้คนอาศัยนานมาแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น